วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557

แรงงานข้ามชาติกับประชาคมอาเซียน

ประเด็นเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนมักจะสร้าง ความสับสนอยู่เสมอ เนื่องจากหลายๆ คนเข้าใจว่าเมื่อมีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการในปี 2558 แล้ว แรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะจากเมียนมาร์ สปป.ลาวและกัมพูชา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ (UNSKILLED LABOUR) จะไหลถาโถม เข้ามาทำงานในประเทศไทย และจะเข้ามาแย่งงานคนไทยทำ ซึ่งในความเป็นจริงประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศไม่เคยมีการตกลงแต่อย่างใดที่จะให้มี การเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ แม้จะมีเป้าหมายในการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี ก็เป็นเพียงการตั้งเป้าหมายว่าจะให้แรงงานฝีมือ (SKILLED LABOUR) สามารถเคลื่อนย้าย ได้เท่านั้น
และในความเป็นจริง ณ ปัจจุบันการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี ก็ยังไม่ได้เกิดขึ้น จะมีก็เพียงการกำหนดคุณสมบัติไว้ก่อนเท่านั้นว่า ถ้าในวันหนึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนมีการอนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงาน ฝีมือได้อย่างเสรีแล้ว แรงงานที่ทำได้ตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในข้อตกลงยอมรับร่วม (MUTUAL RECOGNITION ARRANGEMENTS: MRAS) เหล่านี้เท่านั้นที่จะสามารถเข้ามาทำงานและออกไปทำงานในประเทศอาเซียนได้ อย่างเสรี การเข้ามาของแรงงานต่างด้าวที่เป็นแรงงานระดับล่างหรือแรงงานไร้ฝีมือที่เรา พบเห็นอยู่ทุกวันนี้ เป็นผลมากจากกฎข้อบังคับอื่นๆ ที่ฝ่ายไทยสร้างขึ้นมาเอง นั่นคือ การอนุญาตให้มีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว ซึ่งก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากในปัจจุบัน ในตลาดแรงงานของไทยเริ่มประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานแล้ว โดยเฉพาะแรงงานวัยฉกรรจ์ที่พร้อมจะทำงานที่ใช้แรงงานเข้มข้น มักจะเป็นงานที่มีลักษณะเป็นงานหนัก สำหรับอาเซียนปัจจุบันได้มีการกำหนดคุณสมบัติของแรงงานหรือ MRAS เสร็จไปแล้ว 8 วิชาชีพโดยสามารถจำแนก MRAS ได้เป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
      รูปแบบแรก คือการจัดทำมาตรฐานคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพขึ้นมา อย่างชัดเจน ซึ่งมักจะเป็นวิชาชีพที่มีทักษะชั้นสูงในการประกอบวิชาชีพ โดย 5 วิชาชีพแรก ได้แก่ วิศวกร สถาปนิก พยาบาล หมอ และหมอฟันที่ได้มีการจัดทำ MRA ไปแล้ว นั้น กากำหนดคุณสมบัติจะลงในรายละเอียด เรื่องวุฒิการศึกษา การมีใบอนุญาตภายในประเทศประเทศของตน จำนวนปีและประเภทของประสบการณ์ทำงานภายหลังการจบการศึกษา การศึกษาต่อเนื่อง และเรื่องจริยธรรม โดยในอนาคตหากนักวิชาชีพที่สามารถทำตนเองให้มีคุณสมบัติครบถ้วนตาม MRA ก็สามารถเดินทางไปขอใบรับรองในสภาวิชาชีพของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อทำงานได้ แน่นอนว่าในอนาคตอาชีพในลักษณะที่มีแนวทางการปฏิบัติงานชัดเจนและเป็น วิชาชีพชั้นสูงก็จะมีการจัดทำ MRA ในลักษณะนี้มากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็น เภสัชกร นักกำหนดอาหาร นักกายภาพบำบัด
      รูปแบบที่สอง จะเป็นกรอบข้อตกลงของวิชาชีพนักสำรวจ และนักบัญชี เนื่องจากแต่ละประเทศอาเซียนมีรูปแบบการศึกษาและวิธีการปฏิบัติงานที่มีข้อ กำหนดที่แตกต่างกัน ดังนั้นอาเซียนจึงกำหนดเป็นเพียงกรอบข้อตกลงกว้างๆ (MRA FRAMEWORK) ว่านักสำรวจ นักบัญชีที่จะสามารถทำงานระหว่างคู่ประเทศหนึ่งๆ ของอาเซียนได้ต้องมีคุณสมบัติในประเด็นใดบ้าง ส่วนในรายละเอียดเรื่อง จำนวนปี เรื่องระดับการศึกษา ให้แต่ละคู่ประเทศในอาเซียนไปตกลงกันเอง โดยในอนาคตวิชาชีพที่น่าจะมีการกำหนดกรอบ MRA FRAMEWORK เช่นนี้ก็คือ นักกฎหมาย และสำหรับบริการการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นวิชาชีพล่าสุดที่มีการจัดทำ MRA เราพบว่า มีตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับบริการท่องเที่ยวอยู่ถึง 32 ตำแหน่งงานภายใน MRA ที่บังคับใช้ไปแล้ว โดยมีตั้งแต่ระดับล่างสุด เช่น พนักงานเสิร์ฟอาหาร ไปจนถึงระดับบน เช่น ผู้จัดการโรงแรมด้านการต้อนรับและดูแลลูกค้า ดังนั้น MRA เรื่องการท่องเที่ยวจึงมีลักษณะเป็นคุณสมบัติของผู้ที่จะมาขออนุญาตออกใบ รับรองการทำงานแบบ COMPETENCY BASE นั่นคือจะกำหนดคุณสมบัติเป็นตำแหน่งงานย่อยๆ ว่า คนที่จะมาขอทำงานในตำแหน่งงานนี้ ต้องมีความสามารถทำอะไรได้บ้าง ไม่ได้มีการกำหนดในลักษณะของ วุฒิการศึกษา หรือใบอนุญาตการทำงานในประเทศเช่นเดียวกับอีก 7 วิชาชีพข้างต้น โดยในอนาคตนักวิชาชีพที่ลักษณะกึ่งฝีมือ หรือ SEMI-SKILLED LABOUR ไม่ว่าจะเป็นช่างประปา ช่างไฟฟ้า ช่างคุมงานก่อสร้าง (โฟร์แมน) ก็มีแนวโน้มที่จะมีการจัดทำ MRA ในลักษณะนี้บริการการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นวิชาชีพล่าสุดที่มีการจัดทำ MRA พบว่า มีตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับบริการท่องเที่ยวอยู่ถึง 32 ตำแหน่งงาน
ที่มาอาจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการศูนย์อาเซียนศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/802#ixzz2uGDyl6xI


ตึกแถวให้เช่า พักอาศัยและ ทำธุรกิจได้





 
สถานที่ตั้ง    227/191 โครงการน้ำเพชร 4  หมู่ 7 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก พิษณุโลก                              65000 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
ประเภท         ตึกแถวพร้อมเฟอร์นิเจอร์
ขนาด            4 ชั้น  ชั้นล่างทำธุรกิจได้ ชั้นบนเป็นหอพัก 6 ห้อง
ราคา             ค่าเช่าห้องพักเริ่มต้นที่ 2,500 บาท
รายละเอียด  ตึกแถวให้เช่า ใกล้ มหาวิทยาลัยนเรศวร
                       ขนาดห้องกว้าง 4 x 7.5 เมตร เฟอร์นิเจอร์ครบ พร้อมเครื่องปรับอากาศ ,ตู้เย็น,
                       เครื่องทำน้ำอุ่น ,เคเบิ้ลทีวี มีรปภ.,.ลานจอดรถ,เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ
                       ราคาไม่แพง เพียง 4500-6000 บาท/เดือน
                       INTERNET WIFI เพิ่ม 200 บาท/เดือน

ชื่อผู้ประกาศ        คุณเมย์
 เบอร์โทรศัพท์      O82-072-2613อีเมล์                       visitphitsanulok@gmail.com







รายละเอียด For Sale / ขาย


อาคารพาณิชย์ อยู่ในโครงการทันสมัย บนถนนริมคลองชลประทาน  ด้านหลังมหาวิทยาลัย นเรศวร มีนศ พักบ้างพอสมควร เป็นตึก 3 ชั้น รวม ชั้นดาษฟ้ามีห้องพักทั้งหมด 6 ห้อง
ทำเลโอเค ไม่วุ่นวายมาก คนที่พักส่วนใหญ่เป็นนศ. ป. ตรี ป.โท ป. เอก คนทำงาน ไม่มีเด็ก ๆ ที่จอดรถก็โอเค ชั้นล่าง สามารถให้เช่าทำร้านอาหาร หรือออฟฟิศได้
มี อินเทอร์เน็ต Wifi
เนื้อที่ 26 ตารางวา
ข้อดี
1. ขายไม่แพง (เจ้าของมีพร็อพเพอตี้เยอะ บริหารไม่ได้)
2. ทำเลดี เงียบ
3. มีผู้เช่าแล้ว 80%
4. ในโครงการมีFacility  ครบถ้วน มีร้านซักรีด บริการสอนภาษา งานแปล ร้านเสริมสวย ใกล้ ๆ ร้านอาหาร นั่งเล่น และร้านอาหารเพลิน


โอกาสด้านการลงทุน
1. ในปี 2015 ถ้าAEC มาถึง พิษณุโลก เป็น ฮับ ซึ่งถือว่าเป็น สี่แยกอินโดจีนมีโอกาสที่จะ มีผู้เช่าเต็ม และเนื่องจากพิษณุโลกเป็นเมืองศูนย์กลางการศีกษา ซึ่งจะมีโครงการ แลกเปลี่ยนเด็ก นศ. เขมร ลาว พม่าตอนนี้ก็เริ่มมีนศ. ต่างชาติอยู่ประปราย

ดูรูปที่นี่ค่ะsee more pho here

ส่งอีเมล์ขอข้อมูลและวีดีโอเพิ่มเติมได้ที่ visitphitsanulok@gmail.com
หรือ โทร: 082-072-2613






Create your own banner at mybannermaker.com!