จุดบรรจบของแม่น้ำแควน้อยที่ไหลมารวมกับแม่น้ำน่านหน้าวัดเกาะแก้ว(หลวงพ่อแจง) ต.จอมทอง อ.เมือง พิษณุโลก ภาพแรกถ่ายจากริมแม่น้ำแควน้อยหลังวัดไผ่ค่อม ภาพที่สองถ่ายจากแม่น้ำน่านหน้าวัดเกาะแก้ว
เรามาเรียนรู้กัน
ในสมัยย้อนไปกรุงสุโขทัย เมืองสองแควได้ตกอยู่ในอำนาจราชวงศ์ผาเมือง กระทั่งต่อมา พ่อขุนรามคำแพงมหาราชก็ได้มายึดเมืองสองแคว จากนั้นพระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือลิไทก็ได้เสร็จมาประทับยังเมืองนี้ ซึ่งนั่นคือจุดเริ่มต้นของความเจริญ เพราะพระองค์ท่านทรงเน้นด้านการสร้างเหมืองสร้างฝาย สนับสนุนให้มีพื้นที่สำหรับเพราะปลูก สร้างถนนหนทางการคมนาคม ทำให้การเดินทางจากเมืองพิษณุโลกไปยังสุโขทัยเป็นไปได้โดยสะดวกมากขึ้น จึงนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง
จากนั้นมาในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ได้ทรงเห็นว่าเมืองพิษณุโลกนั้นเป็นเมืองยุทธศาสตร์แห่งหนึ่งที่มีความสำคัญ จึงทรงแต่งตั้งเจ้าพระยายมราชเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช ในสมัยนั้นทัพพม่าที่นำโดยอะแซหวุ่นกี้ได้มาตั้งค่ายกันที่เมืองพิษณุโลก แต่แม้ว่าจะพยายามเข้าตีค่ายของไทยอยู่หลายครั้ง เจ้าพระยาจักรีรวมถึงเจ้าพระยาสุรสีห์ก็ได้ป้องกันเมืองได้ตลอดมา ทั้งที่มีจำนวนทหารน้อยกว่า มองแล้วถือว่าค่อนข้างที่จะเสียเปรียบฝั่งตรงข้ามไม่น้อยเลย
ต่อมาเจ้าพระยาจักรีเริ่มมองเห็นว่าเสบียงอาหารเริ่มขาด และจะเสียเปรียบอย่างยิ่งในการต่อสู้ จึงตัดสินใจนำไพร่พลประชาชนในเมืองอพยพหนีออกไปเสีย เมื่ออะแซหวุ่นกี้ตีเข้ามาได้ก็พบว่ากลายเป็นเมืองร้างไปเสียแล้ว จึงได้สั่งให้เผาทำลายเมืองจนวอดวาย เหลือเพียงแค่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเท่านั้น
จากนั้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองพิษณุโลกก็มีฐานะเป็นเมืองเอกซึ่งมีขนาดใหญ่สุดในหัวเมืองของทางฝ่ายเหนือในประเทศไทย
ทั้งหมดนี้ก็คือประวัติศาสตร์คร่าวๆ ของเมืองสองแคว พิษณุโลก ซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวต่างๆ มากมาย โดยในปัจจุบันพิษณุโลกก็เป็นเมืองที่มีความเจริญเมืองหนึ่ง ซึ่งก็มีที่ดินมีบ้านให้ได้เลือกเป็นเจ้าของกันพอสมควร สำหรับใครที่สนใจในการซื้อที่ดินซื้อบ้านในพิษณุโลก ก็สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมกันได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น