วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2565

เทคนิคการเลือก หอพัก


เทคนิคการเลือก หอพัก จากประสบการณ์จริง



ข้อแนะนำในการเลือกหอพักจากประสบการณ์


1. ทำเลที่ตั้ง ภาษาจีน เรียก "ฮวงจุ้ย " ฮวง=ลม, จุ้ย=น้ำ

- อยู่ไกลจากมหาวิทยาลัยนเรศวรไหม ต้องไม่ไกล หรือ เปลี่ยว ไม่ปลอดภัย

- เดินทางสะดวกหรือไม่

- ใกล้แหล่ง อาหารของกินของใช้ หรือไม่ แพงหรือเปล่า ดึกๆหิวหาอะไรกิน ออกไปซื้อของสะดวกไหม

- น้ำไม่ท่วม -อากาศดี ถ่ายเท ไม่ร้อน หนาวจนเกินไป - ไฟฟ้า ดีไหม  เน็ตโอเคไหม

- ลองสืบๆถามๆข่าวเพื่อนคนแถวนั้นว่าหอเป็นไงบ้าง รวมถึงเรื่อง โจรขโมย + ภูตผีปีศาจด้วย


2. ค่าใช้จ่ายส่วนตัว กับ ราคาหอพัก

ต้องคำนวณราคาหอ กะค่าใช้จ่ายแต่ละคนก็เลือกให้เหมาะกับตัวเองครับ

-ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เงินประกัน ค่าเสื่อม ค่าอาหาร ค่าเดินทาง

บางหอเอาเปรียบตรงสัญญาเรื่องค่าเสื่อมต่างๆเวลาออก ศึกษาให้ดี หอไหนเจ้าของเขี้ยว ระวัง !!!


3. สิ่งอำนวยความสะดวกในหอพัก

-โต๊ะ ตู้ เตียง พัดลม ห้องน้ำ ทีวี เคเบิล อินเตอร์เน็ต* ตู้น้ำ เครื่องซักผ้า มีฟิตเนสด้วยก็เริ่ดเลย


หอที่ Option เสริมเยอะ ก็แพงกว่าแน่นอน ต้องเปรียบเทียบหลายๆอย่างคุ้มไหม


4. เพื่อนร่วมห้อง เพื่อนข้างห้อง เพื่อนร่วมหอ

สังเกตสภาพทั่วไปก่อนตกลงใจจะเลือกหอแล้วกันครับ เจอเพื่อนดีก็ดีไป เจอเพื่อนชอบเสียงดังขี้เหล้่าเมายาบ้าบอลวุ่นวายอ่านหนังสือไม่รู้เรื่องแน่ๆ


5. เจ้าของหอ ผู้ดูแลหอ

- ใจดี คุยกันได้ก็สบาย เจอเขี้ยวๆดุๆ แย่


จะเลือกอย่างไรก็สุดแล้วแต่ เงื่อนไข แต่ละคนค่ะ 

โดย Phitsanulok Property [PP.]





อย่าเปิดประตูรับใครง่ายๆ เพราะคุณอาจเปิดรับคนร้ายเข้ามา


การเลือกที่พักในหอพัก อพาร์ตเมนต์ หรือคอนโดฯ

ต้องเลือกพิจารณาเรื่องระบบความปลอดภัยให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง กล้องวงจรปิด หรือคีย์การ์ดเข้า-ออกที่พัก


ถ้าเป็นไปได้ควรศึกษาเส้นทางเดินไปยังหอพักด้วย

เช่น ทางเข้า-ออกลิฟต์มีจุดเสี่ยงหรือไม่ รวมไปถึงเส้นทางหนีไฟว่ามีพร้อมใช้งานได้จริงแค่ไหน


พยายามเลือกพักในชั้นที่ไม่สูงมากนัก

เวลาเกิดเหตุต้องร้องขอความช่วยเหลือจะได้มีคำได้ยิน หรืออย่างน้อยๆ ก็มั่นใจว่าจะมีคนได้ยินเสียงคน


ประตูห้องต้องแน่นหนา

ลูกบิดสามารถปิดล็อกได้ เหนือขึ้นไปต้องติดตั้งสายยูคล้องโซ่หรือกลอนล็อกจากชั้นในอีกชั้นหนึ่ง นอกเหนือจากที่มีอยู่เดิม และที่ประตูควรมีตาแมวไว้ส่องดูคนที่มาเคาะประตู เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้น


ดูการวางแปลนของห้องพักว่ามีช่องทางให้พวกมิจฉาชีพปีนป่ายได้ง่ายหรือเปล่า

เช่น บริเวณระเบียงหลังห้องอยู่ติดกับห้องข้างเคียงเกินไปหรือเปล่า มีเหล็กดัดรัดกุมแค่ไหน


เมื่อสถานที่ปลอดภัยแล้ว ตัวคุณเองก็ต้องมีมาตการรักษาความปลอดภัยให้ตัวเองเวลาที่อยู่ในห้องคนเดียว

เช่น เวลาเข้าพักต้องแจ้งผู้ดูแลทราบว่า พักอยู่กับใครบ้าง หากมีเพื่อนมาหาต้องแจ้งให้ผู้ดูแลทราบ หรือแม้แต่มีช่างมาซ่อมห้อง ไฟ หรือแอร์ก็ให้พยายามโทรศัพท์พูดคุยกับเพื่อนหรือคนใกล้ชิดให้รู้ความเคลื่อนไหวตลอด ว่าตอนนี้ทำอะไรอยู่ มีใครมาหา หรือมาทำธุระอะไรในห้อง


ก่อนจะเปิดรับใครเข้าห้อง ต้องถามตัวเองว่าคุณรู้จักเขาดีพอแค่ไหน หากเป็นเพื่อนร่วมคอนโดฯ ที่ไม่สนิทชิดเชื้อ ก็อย่าพาเข้าห้องเด็ดขาด


พยายามผูกมิตรกับเพื่อนข้างห้อง ซึ่งอาจจะให้ความช่วยเหลือได้ในยามคับขัน


ที่สำคัญตัวคุณเองอย่าประมาท แม้ว่าจะอยู่ภายในห้องพักของตัวเองแล้วก็ตาม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น